วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

การทำปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพจากไส้เดือนดิน

การทำปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน

การเลี้ยงไส้เดือนดินและการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน

ปัจจัยที่ควบคุมการเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์ของไส้เดือนดิน ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น การระบายอากาศ อาหาร พี เอช

ไส้เดือนดินและการทำปุ๋ยหมัก

พันธุ์ไส้เดือนดินที่ใช้ในการทำปุ๋ยหมัก เช่น Eisenia fetida (the tiger worm) Lumbricidae Eisenia andrei (red tiger worm) Eudrilus eugemiae (african night crawler) Dendrobaena veneta, Perionyx excavatus, Polyheretima elongata และ Lumbricus rubellus เศษ ซากอินทรียวัตถุที่ใช้ในการทำปุ๋ยหมัก เศษวัสดุเหลือใช้ทุกชนิดจากภาคการเกษตร อุตสาหกรรม หรือขยะอินทรีย์จากชุมชน มูลสัตว์ เช่น มูลม้า วัว หรือควาย วัสดุอื่นๆ เช่น ฟางข้าว ต้นกล้วย ผักตบชวา เปลือกข้าว และใบกระถิน

การย่อยสลายขยะของไส้เดือนดิน

ของไส้เดือนดินสายพันธุ์ไทยพันธุ์ฟีเรทธิมา พีกัวน่า (Pheretima peguana)และไส้เดือนดินสายพันธุ์ต่างประเทศพันธุ์แลมบริคัส รูเบลลัส (Lumbricus rubellus)โดยใช้อัตราส่วนปริมาณไส้เดือนต่อปริมาณขยะเท่ากับ 1 : 2 กิโลกรัม (ไส้เดือนสายพันธุ์ไทย 1 กก. มี 1,200 ตัว ส่วนไส้เดือนสายพันธุ์ต่างประเทศ 1 กก. มี 970 ตัว) พบว่า ไส้เดือนดินสายพันธุ์ต่างประเทศพันธุ์แลมบริคัส รูเบลลัส (Lumbricus rubellus) มีความสามารถในการย่อยสลายขยะได้เร็วกว่าไส้เดือนดินสายพันธุ์ไทยพันธุ์ฟีเรทธิมา พีกัวน่า (Pheretima peguana) โดยใช้เวลาในย่อยสลายขยะน้อยกว่า 2 เท่า ของไส้เดือนสายพันธุ์ไทย และไส้เดือนดินทั้งสองสายพันธุ์ใช้เวลาในการย่อยเศษผลไม้ได้รวดเร็วที่สุด และใช้เวลาในการย่อยเศษอาหารและเศษผักใกล้เคียงกัน

สาร เคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเป็นพิษต่อไส้เดือนดิน ได้แก่ อัลดิคาร์ป เบนโนมิล บีเอชซี คาร์บาริล คาร์โบฟูราน คลอร์เดน เอนดริน เฮบตาคลอร์ มาลาไธออน พาราไธออน เป็นต้น

รูปแบบที่เหมาะสมในการใช้ไส้เดือนดินกำจัดขยะ
1. การกำจัดขยะเพื่อผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินในระดับครัวเรือน (แบบหลังบ้าน)
2. การกำจัดขยะเพื่อผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินในระดับชุมชน (แบบโรงเรือน)